
เรื่องอุกกัณฐิตภิกขุ
พระบรมศาสดา ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึก (อยากสึก) รูปหนึ่ง
บวชเข้ามาในศาสนานี้ก็เพื่อจะพ้นทุกข์ แต่พอเธอได้ยินพระอาจารย์กล่าวธรรม พระอุปัชฌายะกล่าววินัยว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ จึงมีความหนักใจ เห็นว่าธรรมวินัยนี้มีมากมาย ปฏิบัติไม่ไหว จึงอยากจะสึก
พระอุปัชฌายะอาจารย์จึงพาตัวภิกษุนั้นไปเฝ้าพระศาสดา ทูลความนั้นให้ทรงทราบ
พระศาสดาจึงตรัสถามภิกษุนั้นว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านรักษาแต่สิ่งเดียว แล้วไม่ต้องรักษาสิ่งอื่นมากมายจะได้หรือไม่"
ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่าได้
พระองค์จึงตรัสสอนให้ "รักษาจิต" แล้วจึงตรัสพระคาถานี้
สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ. ผู้มีปัญญา ควรรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ที่ละเอียดนัก มีปกติตกไปตามใคร่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง จิตอันเขารักษาแล้ว นำสุขมาให้
ข้อมูลจากหนังสือธรรมสมบัติ คาถาธรรมบทแปล ของ พระศาสนโสภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล)
อ่านเรื่องราวเต็มได้ที่ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=3
#ธรรมวันละบท #ธุดงคสถานมหาวัน #mahavanadhutanka
Comments